การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี " ไตรโคเดอร์มา "
การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี หมายถึงการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูกับเชื้อสาเหตุโรคพืช ตลอดจนสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก พันธุกรรม(genes) และผลผลิตจากพันธุกรรม (gene products) ในการลดปริมาณและลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืชลง จนทำให้การเกิดโรคพืชลดลงและความเสียหายอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
ดังนั้นการควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราโดยชีววิธี จึงได้รับความสนใจเป็นเวลานานแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะปัจจุบันที่มีการ รณรงค์ให้ลดหรือเลิกใช้สารเคมีควบคุมโรคพืช เพื่อรักษาและอนุรักษ์สมดุลย์ของธรรมชาติและควบคุมความปลอดภัยจากสารเคมีที่ สะสมในพืชพันธุ์ ส่งผลให้การควบคุมเชื้อราด้วยชีววิธีมีบทบาทชัดเจนขึ้น
วิธีการที่เราจะใช้ชีววิธีกับเฟินหรือกล้วยไม้ นี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี เพราะว่าการเลี้ยงของบางท่านเป็นการเลี้ยงที่ใกล้บ้าน ติดกับบ้าน รวมทั้งมีเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงที่วิ่งเข้าไปคลุกคลีกับพื้นที่การปลูก เลี้ยงที่เราจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมี ทำให้บางท่านไม่สามารถใช้สารเคมีได้ ซึ่งการใช้สารเคมีจะมีประสิทธิภาพที่แน่นอน เห็นผลชัดเจน สะดวกในการจัดซื้อ การใช้และการเก็บรักษาก็ง่ายด้วย แต่อย่างไรก็ตามสารเคมีก็มีราคาที่สูงถ้าต้องใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง
บาง กรณีที่เกิดปัญหาเชื้อโรคต่อต้ายยา ก็ทำให้เราต้องใช้สารเคมีมากกว่าปรกติ และในบางครั้งถึงแม้จะเพิ่มการใช้สารเคมีก็ไม่ได้ทำให้โรคหายไปหรือน้อยลง เนื่องจากการใช้สารกำจัดเชื้อราในปริมาณมากและต่อเนื่องมักเป็นต้นเหตุของ การสะสมมลพิษในพื้นดิน น้ำตลอดจนทำให้ความสมดุลย์ของจุลินทรีย์และสิ่งที่มีชีวิตตามสภาพธรรมชาติ ได้รับความกระทบกระเทือนอีกด้วย
การควบคุมโรคพืชที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราโดยชีววิธี ด้วยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูกับเชื้อราสาเหตุของโรคพืชจำพวกเชื้อ ราและแบคทีเรียมีมานานกว่า70ปีแล้ว แต่เพิ่งได้รับความสนใจอย่างจริงจังเมื่อ15ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันการศึกษา วิจัยเกี่ยวกับการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีกำลังเป็นเรื่องด่วนทั้งในและต่าง ประเทศตามกระแสของการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและสมดุลของธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางประเทศได้มีการผลิตจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูกับเชื้อรา สาเหตุของโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียในรูปชีวภัณฑ์ biological products เพื่อควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืช biofungicide ออกมาวางจำหน่ายมาพอสมควร และชีวภัณฑ์ที่เป็นเชื้อราที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา ซึ่งได้รับการจดทะเบียนรับรองโดยสำนักงานพิทักษ์สภาพแวดล้อม Environmental Protection Agency,EPA ของประเทศสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว
ด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจของเชื้อไตรโครเดอร์มาดังกล่าว ประกอบกับรายงานผลที่ประสบความสำเร็จในการใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืช ต่างๆได้หลายชนิด ในประเทศไทยเราจึงมีการวิจัยเชื้อไตรโคเดอร์มาอย่างจริงจังเมื่อปี2528 ณ ภาควิชาโรคพืช คุณเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม โดย ผศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง โดยได้คัดเลือกสายพันธุ์ ไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดีที่สุดในโรคพืชที่เกิดในประเทศไทย
จนมีการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาในรูปผงแห้ง เพื่อให้เกษตรกร นำมาขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มาในสภาพเชื้อสด อีกทีหนึ่ง
จากนี้อุ๊จะแสดงวิธรการขยายเชื้อแบบง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ห้องแลบ ดังนี้ค่ะ
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1. เชื้อไตรโคเดอร์มาแบบแห้ง
2. ข้าวสาร
3. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
4. ถุงพลาสติก
5. หนังยางรัดปากถุง
6. เข็ม
7. เตรียมใจ
ขั้นตอนแรก
เอาข้าวสารมาหุงค่ะ ใส่น้ำไม่ต้องมาก เราต้องการข้าวที่หุงแบบเมล็ดข้าวไม่แตกบายมาก แบบยังเป็นเมล็ดแข็งๆอยู่
ในที่นี้อุ๊หุงกับหม้อที่ใช้กับไมโครเวฟ ใส่น้ำท่วมข้าวประมาณครึ่งองคุลี(ครึ่งข้อแรกของนิ้วชี้) (ภาษาโบราณไหม)
ข้าวที่ได้ก็ประมาณนี้ค่ะ แข็งๆหน่อย
จากนั้นก็เอาข้าวตักใส่ถุงพลาสติกใส ขณะที่ข้าวกำลังร้อนค่ะ ตัดใส่ประมาณ 250กรัม แล้วพับปากถุงไว้ รอจนข้าวเกือบเย็น แบบนี้
**การพับปากถุงปิดไว้ เพื่อไม่ให้เชื้ออื่นเข้าไปปนเปื้อนค่ะ **
แล้วก็เชื้อไตรโคเดอร์มาแบบแห้งค่ะ มันอยู่ในขวดลักษณะแบบนี้
เมื่อข้าวเย็นแล้ว ไม่ต้องเย็นมากนะคะ แบบอุ่นๆ เอาเข้าปากได้ไม่ร้อนก็พอ
จากนั้นเอาเชื้อไตรโคเดอร์มาแห้ง เหยาะลงไปค่ะ เหมือนเหยาะพริกไทยอย่างใดอย่างนั้นเลย ประมาณสัก3เหยาะก็พอ
จากนั้นก็เอามำขยำๆๆๆ คลุกเคล้าค่ะ แล้วก็รัดด้วยหนังยางที่เตรียมไว้ ให้ข้างในพอมีอากาศนิดหน่อย
จากนั้นเอาเข็มค่ะ มาแทงแบบไม่ยั้งตรงบริเวณใต้ที่รัดยางประมาณ20ครั้งค่ะ เพื่อพอมีการถ่ายเทอากาศที่ไม่มากไม่น้อยเกินไป มากไปเดี๋ยวเชื้ออื่นจะเข้ามาแทนค่ะ
จากนั้นก็เอาวางไว้แบนๆแบบนี้ ดึงถุงให้ขึ้นมาเพื่อพอมีอากาศภายในถุง แล้ววางไว้ในที่ที่มีแสงพอประมาณแบบนี้ ไม่ควรให้โดยแดดโดยตรงนะคะ
วางไว้ริมหน้าต่างแบบนี้ก็พอค่ะ
ผ่านไปได้สักราวๆ2-3วัน ถ้าเชื้องอกเจริญเติบโตดี ก็จะเห็นเป็นแบบนี้ค่ะ จะเห้นเป็นสีเขียว ซึ่งแสดงว่า เชื้อเจริญได้ดีค่ะ